พระพุทธบาทตากผ้า

พระพุทธบาทงามละออ กราบไหว้ พระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง

ผ้าทอ

ผ้าทอหัตถกรรม ผ้าฝ้ายทอมือขึ้นชื่อป่าซาง เที่ยวชมผ้าฝ้าย .

ประเพณีงาม

งามล้ำประเพณี ประเพณีแห่ครัวตาน สงกรานต์ แห่ลูกแก้ว.

ผลผลิตทางการเกษตร

ลำไยรสหวาน ขึ้นชื่อลือชา แหล่งผลิตลำไยส่งออก.

แหล่งท่องเที่ยว

เที่ยว กิน ดื่ม แม่วังส้าน อำเภอป่าซาง.

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีสงกรานต์ป่าซาง

ประเพณีสงกรานต์ป่าซาง


          สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณ  เหมือนกับ ประเทศลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมนฑลยูนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย นั่นหมายถึงการย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษ  ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ สมัยโบราณถือว่าวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ  วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน)  ต่อมาจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้เป็นสากล
          ประเพณีสงกรานต์ป่าซาง  มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ป่าซางครั้งแรก  โดยนายสวัสดิ์  อรรถศิริ  นายอำเภอป่าซาง เมื่อปี พ.ศ.2502  ท่านนายอำเภอเป็นเชื้อสายมอญ และพึ่งย้ายมาจากอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ก่อนหน้านี้สงกรานต์ของป่าซาง เป็นการเล่นรดน้ำ ดำหัวผู้ใหญ่ตามชุมชน และในเครือญาติกันเท่านั้น ท่านนายอำเภอเคยเห็นชุมชนชาวมอญ มีการจัดงานประเพณีวันสงกรานต์กันใหญ่โต สนุกสนานมีการะเล่นต่าง ๆ นอกเหนือจากการรดน้ำ ดำหัวผู้ใหญ่ ประกอบกับอำเภอป่าซางสมัยนั้นมีชื่อเสียงด้านสาวงาม และผ้าฝ้ายทอมือที่ขึ้นชื่อ
            การจัดงานประเพณีสงกรานต์ป่าซางครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน  2502  ณ ที่ว่าการอำเภอป่าซาง มีขบวนแห่จากหน้าวัดฉางข้าวน้อยเหนือ ไปตามถนนสายป่าซาง-ลำพูน ผ่านหน้าตลาดป่าซาง จนถึงที่ว่าการอำเภอป่าซาง ประกอบด้วยขบวนของแต่ละตำบล ทั้ง 9 ตำบล ภายในขบวนมีขบวนกลองสะบัดชัย ขบวนสาวงามแต่งกายชุดพื้นเมือง ชุดยอง ขบวนนก ขบวนปลา เพื่อนำไปปล่อยหลังการเดินขบวนเสร็จ สองฝากถนนมีประชาชนมาเที่ยวชมขบวนแห่อย่างเนื่องแน่นพร้อมทั้งเล่นน้ำสงกรานต์ไปด้วย เป็นที่สนุกสนาน ทั้งหญิง ชาย เด็ก และผู้ใหญ่  พอทุกขบวนเดินทางมาถึง ณ ที่ว่าการอำเภอป่าซางเรียบร้อยแล้ว สาวงามที่นั่งมาบนรถขบวนแห่ เข้าประกวดนางสาวสงกรานต์ ซึ่งจะตัดสินภายในคืนนั้นเลย
         ตังแต่บัดนี้เป็นต้นมา อำเภอป่าซาง จะจัดงานประเพณีสงกรานต์ เป็นประจำทุกปี จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บางปีจะมีงาน 1 วัน คือวันที่ 15 เมษายน  บางปี  3 วัน คือวันที่13-15 เมษายน  แล้วแต่สถานการณ์ และความพร้อมของประชาชน ส่วนราชการภายในอำเภอป่าซาง  นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานจากองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในงานจัดงานประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทำให้งานมีความหลากหลายมากขึ้น มีกิจกรรมหลายอย่าง เช่น กาดมั่ว การประกวดขบวนแห่นางสงกรานต์ ประกวดการฟ้อนพื้นเมือง  การประกวดการทำอาหารพื้นเมือง เป็นต้น
  

  
การเล่นสงกรานต์ในอดีต ปี 2502



































วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาอำเภอป่าซาง


แผนที่อำเภอป่าซาง
  ประวัติความเป็นมาอำเภอป่าซาง
             บริเวณอำเภอป่าซาง  อยู่ในตำแหน่งที่มีสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์แห่งหนึ่ง  ในดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย เพราะเป็นที่ ชุมทางของลำน้ำสำคัญถึง  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำปิง  แม่น้ำกวง และลำน้ำแม่ทา  แม่น้ำปิงคือลำน้ำที่ผ่านเมืองเชียงใหม่ลงมา ในขณะ ที่ลำน้ำกวงไหลมาจากเทือกเขา และที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอำเภอสันกำแพงมายังอำเภอเมืองลำพูนแล้วผ่านเมืองลำพูนมา
ทางตะวันออกเฉียงใต้พบกับลำน้ำแม่ทาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาทางทิศใต้ผ่านบ้านป่าซางและที่ทำการอำเภอป่าซางมาบรรจบกับ
 ลำน้ำแม่กวงที่บ้านสบทาต่อจากนั้นก็ไหลรวมกันไปทางทิศตะวันตกประมาณ   1   กิโลเมตร  ไปบรรจบกับแม่น้ำปิง  จากตำแหน่งอัน เป็นที่พบกันของลำน้ำทั้งสามนี้      ทำให้เป็นบริเวณที่คุมเส้นทางที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน     เท่ากับอยู่ใน
ตำแหน่งที่เป็นหน้าด่านที่สำคัญของเมืองทั้งสามที่เดียว
    เพราะฉะนั้นบริเวณที่พัฒนาการขึ้นเป็นชุมชนเมืองนั้น       ก็หาได้อยู่ตรงบริเวณที่ลำน้ำสบกันไม่     หากอยู่ในบริเวณสองฝั่งของลำน้ำแม่ทาที่ห่างจากบ้านสบทามาทางใต้ราว   2    กิโลเมตร       เพราะเป็น ตำแหน่งที่คุมเส้นทางทางบกที่มาจากอำเภอเถิน    อำเภอลี้     และอำเภอบ้านโฮ่งทางใต้     เส้นทางบกนี้ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นเส้น
ถนนหลวงที่ใช้ติดต่อกับระหว่างเชียงใหม่
   ลำพูน   ลี้   เถิน   และเมืองตาก   รวมทั้งลงมายังกำแพงเพชร  นครสวรรค์   ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  ลงมาด้วย ชุมทางของลำน้ำสำคัญถึง  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำปิง  แม่น้ำกวง และลำน้ำแม่ทา  แม่น้ำปิงคือลำน้ำที่ผ่านเมืองเชียงใหม่ลงมา ในขณะที่ลำน้ำกวงไหลมาจากเทือกเขา และที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอำเภอสันกำแพงมายังอำเภอเมืองลำพูนแล้วผ่านเมืองลำพูนมา ทางตะวันออกเฉียงใต้พบกับลำน้ำแม่ทาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาทางทิศใต้ผ่านบ้านป่าซางและที่ทำการอำเภอป่าซางมาบรรจบกับลำน้ำแม่กวงที่บ้านสบทาต่อจากนั้นก็ไหลรวมกันไปทางทิศตะวันตกประมาณ   1   กิโลเมตร  ไปบรรจบกับแม่น้ำปิง  จากตำแหน่งอันเป็นที่พบกันของลำน้ำทั้งสามนี้      ทำให้เป็นบริเวณที่คุมเส้นทางที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน     เท่ากับอยู่ในตำแหน่งที่เป็นหน้าด่านที่สำคัญของเมืองทั้งสามที่เดียว    เพราะฉะนั้นบริเวณที่พัฒนาการขึ้นเป็นชุมชนเมืองนั้น       ก็หาได้อยู่ตรงบริเวณที่ลำน้ำสบกันไม่     หากอยู่ในบริเวณสองฝั่งของลำน้ำแม่ทาที่ห่างจากบ้านสบทามาทางใต้ราว   2    กิโลเมตร       เพราะเป็นตำแหน่งที่คุมเส้นทางทางบกที่มาจากอำเภอเถิน    อำเภอลี้     และอำเภอบ้านโฮ่งทางใต้     เส้นทางบกนี้ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นเส้นถนนหลวงที่ใช้ติดต่อกับระหว่างเชียงใหม่   ลำพูน   ลี้   เถิน   และเมืองตาก   รวมทั้งลงมายังกำแพงเพชร  นครสวรรค์   ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  ลงมาด้วยชุมทางของลำน้ำสำคัญถึง  3  สาย  ได้แก่  แม่น้ำปิง  แม่น้ำกวง และลำน้ำแม่ทา  แม่น้ำปิงคือลำน้ำที่ผ่านเมืองเชียงใหม่ลงมา ในขณะที่ลำน้ำกวงไหลมาจากเทือกเขา และที่สูงทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอำเภอสันกำแพงมายังอำเภอเมืองลำพูนแล้วผ่านเมืองลำพูนมาทางตะวันออกเฉียงใต้พบกับลำน้ำแม่ทาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาทางทิศใต้ผ่านบ้านป่าซางและที่ทำการอำเภอป่าซางมาบรรจบกับลำน้ำแม่กวงที่บ้านสบทาต่อจากนั้นก็ไหลรวมกันไปทางทิศตะวันตกประมาณ   1   กิโลเมตร  ไปบรรจบกับแม่น้ำปิง  จากตำแหน่งอันเป็นที่พบกันของลำน้ำทั้งสามนี้      ทำให้เป็นบริเวณที่คุมเส้นทางที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูน     เท่ากับอยู่ในตำแหน่งที่เป็นหน้าด่านที่สำคัญของเมืองทั้งสามที่เดียว    เพราะฉะนั้นบริเวณที่พัฒนาการขึ้นเป็นชุมชนเมืองนั้น       ก็หาได้อยู่ตรงบริเวณที่ลำน้ำสบกันไม่     หากอยู่ในบริเวณสองฝั่งของลำน้ำแม่ทาที่ห่างจากบ้านสบทามาทางใต้ราว   2    กิโลเมตร       เพราะเป็นตำแหน่งที่คุมเส้นทางทางบกที่มาจากอำเภอเถิน    อำเภอลี้     และอำเภอบ้านโฮ่งทางใต้     เส้นทางบกนี้ต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นเส้นถนนหลวงที่ใช้ติดต่อกับระหว่างเชียงใหม่   ลำพูน   ลี้   เถิน   และเมืองตาก   รวมทั้งลงมายังกำแพงเพชร  นครสวรรค์   ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  ลงมาด้วย                 การมีชุมชนบ้านเมืองในเขตอำเภอป่าซางมีมาแล้วแต่สมัยล้านนา  เพราะอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่โบราณ  แต่เรื่องราวที่
เกี่ยวข้องกับการเป็นบ้านเมืองทางประวัติศาสตร์นั้น
 ปรากฎในสมัยก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา เมืองป่าซางในอดีตเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการป้องกันข้าศึกที่ยกตีเมืองล้านนา  ได้แก่  ลำปาง  ลำพูน  และเชียงใหม่  เป็นต้น  พงศาวดารโยนกบันทึกไว้ว่า  ปี พ.ศ.2304  พม่าได้ให้โปมะยุง่วนเป็นแม่ทัพยกกองทัพมาตี  เชียงใหม่  และ ลำพูน  และในปี  พ.ศ.2306  ลำพูน   ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า
จนถึง
  พ.ศ.2308   ชาวลำพูนจึงรวบรวมกำลังต่อสู้ชิงเมืองคืนได้สำเร็จทำให้โปมะยุง่วนต้องหนีกลับเมืองอังวะต่อมาพม่าได้ให้อะแซหวุ่นกี้   ยกทัพมาตีเมืองลำพูนกลับคืนได้  ในปี  พ.ศ.2309  ในครั้งนี้พม่าได้บังคับให้ผู้ชายสักหมึกดำไว้ที่ขา  สักตั้งแต่เอวลงไปถึงเหนือหัวเข่า  และผู้หญิงให้เจาะหูแล้ใส่มวนใบลานที่รูหูตามอย่างพม่า  และให้โปสุพลา  โปมะยุง่วน  ดูแลเมืองลำพูนไว้เกี่ยวข้องกับการเป็นบ้านเมืองทางประวัติศาสตร์นั้น ปรากฎในสมัยก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา เมืองป่าซางในอดีตเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการป้องกันข้าศึกที่ยกตีเมืองล้านนา  ได้แก่  ลำปาง  ลำพูน  และเชียงใหม่  เป็นต้น  พงศาวดารโยนกบันทึกไว้ว่า  ปี พ.ศ.2304  พม่าได้ให้โปมะยุง่วนเป็นแม่ทัพยกกองทัพมาตี  เชียงใหม่  และ ลำพูน  และในปี  พ.ศ.2306  ลำพูน   ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนถึง  พ.ศ.2308   ชาวลำพูนจึงรวบรวมกำลังต่อสู้ชิงเมืองคืนได้สำเร็จทำให้โปมะยุง่วนต้องหนีกลับเมืองอังวะต่อมาพม่าได้ให้อะแซหวุ่นกี้   ยกทัพมาตีเมืองลำพูนกลับคืนได้  ในปี  พ.ศ.2309  ในครั้งนี้พม่าได้บังคับให้ผู้ชายสักหมึกดำไว้ที่ขา  สักตั้งแต่เอวลงไปถึงเหนือหัวเข่า  และผู้หญิงให้เจาะหูแล้ใส่มวนใบลานที่รูหูตามอย่างพม่า  และให้โปสุพลา  โปมะยุง่วน  ดูแลเมืองลำพูนไว้เกี่ยวข้องกับการเป็นบ้านเมืองทางประวัติศาสตร์นั้น ปรากฎในสมัยก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา เมืองป่าซางในอดีตเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการป้องกันข้าศึกที่ยกตีเมืองล้านนา  ได้แก่  ลำปาง  ลำพูน  และเชียงใหม่  เป็นต้น  พงศาวดารโยนกบันทึกไว้ว่า  ปี พ.ศ.2304  พม่าได้ให้โปมะยุง่วนเป็นแม่ทัพยกกองทัพมาตี  เชียงใหม่  และ ลำพูน  และในปี  พ.ศ.2306  ลำพูน   ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนถึง  พ.ศ.2308   ชาวลำพูนจึงรวบรวมกำลังต่อสู้ชิงเมืองคืนได้สำเร็จทำให้โปมะยุง่วนต้องหนีกลับเมืองอังวะต่อมาพม่าได้ให้อะแซ
หวุ่นกี้   ยกทัพมาตีเมืองลำพูนกลับคืนได้  ในปี  พ.ศ.2309  ในครั้งนี้พม่าได้บังคับให้ผู้ชายสักหมึกดำไว้ที่ขา  สักตั้งแต่เอวลงไปถึงเหนือหัวเข่า  และผู้หญิงให้เจาะหูแล้ใส่มวนใบลานที่รูหูตามอย่างพม่า  และให้โปสุพลา  โปมะยุง่วน  ดูแลเมืองลำพูนไว้             ถึงปี  พ.ศ.2317  ตรงกับจุลศักราช  1136  พระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนคืนจากพม่า  โดยการช่วยเหลือของพญาจ่าบ้านและพญากาวิละ โดยมาตั้งรับทัพพม่าอยู่ที่อำเภอป่าซาง  ในการศึกครั้งนี้พม่าพ่ายแพ้ต้องถอยกลับ  เมื่อเสร็จศึกครั้งนี้พญาจ่าบ้านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพญาวิเชียรปราการผู้ครองเมืองลำพูน  และพญากาวิละได้รับแต่งตั้งให้เป็น  ผู้ครองเมืองลำพูน  และพญากาวิละได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ครองเมืองเชียงใหม่  ในช่วงเวลานั้นเนื่องจากสภาวะสงครามเชียงใหม่และลำพูนเหลือประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนน้อยพญากาวิละจึงโปรดให้เจ้าศรีบุญมา  อุปราชไปทำการอพยพราษฎรจากสิบสองปันนามาอยู่ ณ เชียงใหม่  และลำพูนเรื่อนมาจนถึงป่าซาง  อันเป็นเหตุให้มีชาวไทยยองอาศัยอยู่หลายท้องที่ในอำเภอป่าซางจนถึงปัจจุบัน ถึง ปีพ.ศ.2330  ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมือง  ล้านนาไทยอีก โดยมีหวุ่นหยีมหาชัยสุระเป็นแม่ทัพโดยเข้ามาทางเมืองเชียงตุง  ในครั้งนี้พม่าหรือข้าศึกไม่มารุกรานหัวเมืองล้านนาไทยอีกเลยจนถึงปัจจุบัน                ถึงปี พ.ศ.2443  ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินมาเป็นกระทรวง  ทบวง  กรม  มีการจัดตั้งหน่วยราชการเป็นแขวง  ซึ่งเมืองป่าซางเรียกชื่อว่า  "แขวงปากบ่อง"  เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอตำบลป่าซาง  และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอป่าซางจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  เนื่องจากที่ว่าการอำเภอเดิมอยู่ใกล้แม่น้ำซึ่งเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี  และในขณะนั้นการคมนาคมทางบกเจริญขึ้นไม่ต้องอาศัยเส้นทางคมนาคมทางน้ำอีก ประกอบกับที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ ณ ตำบลป่าซางเป็นศูนย์กลางความเจริญ  มีชุมชนหนาแน่น  จึงเป็นการเหมาะสม 
https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEgJ-udwsprEAVX0DW4YCaB3jQGY6IoDv6g0R32l4csJy_6_8Qo2vJiSsbHG_4AlqXzfqlCW2Rj6DWuSJqY5jF2cAFZzf8FInOAEGEWpoe86KJOKXogmxI9T3rvXnD6qMKl0rX76Y2aP1dHfPeTDyhpd8OcI=  สภาพทั่วไป
              อำเภอป่าซาง  มีเนื้อที่ประมาณ  293.30  ตารางกิโลเมตร  หรือ  183,500  ไร่  ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม
มีภูเขาเตี้ยๆ
    ไม่สูงมากนักกระจายอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอ   ในเขตตำบลนครเจดีย์และตำบลมะกอก    มีลำน้ำสำคัญไหลผ่าน
หลายสาย
  ได้แก่  แม่น้ำปิง    แม่น้ำกวง    แม่น้ำทา    และลำห้วยแม่อาว
https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEgJ-udwsprEAVX0DW4YCaB3jQGY6IoDv6g0R32l4csJy_6_8Qo2vJiSsbHG_4AlqXzfqlCW2Rj6DWuSJqY5jF2cAFZzf8FInOAEGEWpoe86KJOKXogmxI9T3rvXnD6qMKl0rX76Y2aP1dHfPeTDyhpd8OcI=  อาณาเขต
            อำเภอป่าซาง   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้  ห่างจากตัวจังหวัดลำพูน  11  กิโลเมตร
ทิศเหนือ
ติดต่อกับอำเภอสันป่าตอง    จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้
ติดต่อกับอำเภอบ้านโฮ่ง    จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก   
ติดต่อกับอำเภอแม่ทา  และอำเภอเมืองลำพูน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับอำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอเวียงหนองล่อง  จังหวัดลำพูน
                                   
https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEgJ-udwsprEAVX0DW4YCaB3jQGY6IoDv6g0R32l4csJy_6_8Qo2vJiSsbHG_4AlqXzfqlCW2Rj6DWuSJqY5jF2cAFZzf8FInOAEGEWpoe86KJOKXogmxI9T3rvXnD6qMKl0rX76Y2aP1dHfPeTDyhpd8OcI=  ประชากรและอาชีพ
               อำเภอป่าซาง   มีประชากรทั้งสิ้น   56,942  คน   ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่  ข้าว  กระเทียม
หัวหอม
  ลำไย  มะม่วง มันฝรั่ง  และมะเขือเทศ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วนไปรับจ้างเป็นคนงานในนิคมอุตสาหกรรม
ลำพูน
   พื้นที่การปกครองของอำเภอป่าซาง  แบ่งออกเป็น  9  ตำบล   ได้แก่  ตำบลป่าซาง  ปากบ่อง  ม่วงน้อย  แม่แรง  บ้านเรือน
นครเจดีย์
   น้ำดิบ  และมะกอก   จำนวน  88  หมู่บ้าน
https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEgJ-udwsprEAVX0DW4YCaB3jQGY6IoDv6g0R32l4csJy_6_8Qo2vJiSsbHG_4AlqXzfqlCW2Rj6DWuSJqY5jF2cAFZzf8FInOAEGEWpoe86KJOKXogmxI9T3rvXnD6qMKl0rX76Y2aP1dHfPeTDyhpd8OcI=  สภาพภูมิอากาศ
ฤดูร้อน
ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม
ฤดูฝน 
ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือน ตุลาคม
ฤดูหนาว
ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์